ชุดดับเพลิงประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

24/01/2024

ชุดดับเพลิง

       หากจะพูดถึงอาชีพที่ต้องเสี่ยงภัยอัตรายแล้วละก็ นักดับเพลิง คือหนึ่งในอาชีพ ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงอัตรายอันดับต้นๆ เพราะต้องใช้พลังใจที่รัก และความกล้าหาญในการทำงาน แต่หากจะใช้แค่ใจอย่างเดียวก็คงไม่พอ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังต้องการชุดอุปกรณ์ที่สามารถป้องกัน และช่วยเซฟตี้พวกเขาในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีอีกด้วย เพราะชีวิตจริงของเราไม่ได้เหมือนอยู่ในภาพยนต์ ที่มีฮีโร่จอมพลัง มีร่างกายที่แข็งแรงทนทานต่ออันตรายทุกชนิด โดยไม่ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันใดๆ เลย ชุดดับเพลิง อุปกรณ์ในการดับเพลิง จึงเป็นสิ่งสำคัญ หากพูดถึงชุดที่ป้องกันที่ใช้ จะมีด้วยกัน 4 แบบคือ ชุดดับเพลิงนอกอาคาร ชุดดับเพลิงในอาคาร ชุดป้องกันสารเคมี และชุดป้องกันเชื้อโรคในยามที่เกิดโรคระบาด ซึ่งชุดสุดท้ายจะอยู่ที่กรมควบคุมและป้องกันโรค ไม่ได้อยู่ประจำสถานีดับเพลิงแต่อย่างใด

       ชุดดับเพลิง หรือ ชุดนักผจญเพลิง หรือ ชุดหมีผจญเพลิง คือ อุปกรณ์ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้แก่อาชีพนักผจญเพลิง เนื่องจากอาชีพนักผจญเพลิงนับเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตรายอันดับต้นๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์เพื่อรักษาความปลอดภัย และสามารถป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบอาชีพนักผจญเพลิงในระหว่างที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ได้ 

ทำไมชุดดับเพลิงกันไฟได้ ?

       สำหรับใครที่เคยคิดสงสัยว่าทำไม นักดับเพลิง เขาถึงกล้าเข้าไปเผชิญกับโลกแห่งไฟได้อย่างแข็งแกร่งกันนั้นเค้าไม่กลัวหรือยังไง จริงๆ แล้วก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่มากเลยทีเดียวสำหรับการเข้าไปสู้กับไฟ จึงทำให้โลกเราต้องมีชุดดับเพลิงเกิดขึ้นมาเพื่อป้องกันชีวิตของเหล่าบรรดานักดับเพลิงให้สามารถทำงานกันได้อย่างปลอดภัยและเอาชีวิตรอดออกมาได้ ซึ่งวันนี้ เราจะพาทุกคนไปดูกันถึงองค์ประกอบของชุดดับเพลิงว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ทำไมถึงกันไฟได้!!
       ชุดดับเพลิงสำหรับนักดับเพลิงมีคุณสมบัติกันไฟได้ โดยประกอบด้วย 4 ชั้นได้แก่

  • ชั้นนอกสุด
  • ชั้นกั้นน้ำ
  • ชั้นตัวกั้นความร้อน
  • ชั้นในสุด

       ซึ่งในแต่ละชั้นเหล่านี้ ก็จะ มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป เพราะก็อย่างที่เรารู้กัน หากต้องเข้าไปสู้กับไฟ คุณสมบัติของชุดจะไม่ปลอดภัยและแน่นหนาก็คงจะไม่ได้เป็นอันขาด และที่สำคัญไปกว่านั้น คุณสมบัติของชุดดับเพลิงก็ต้องไม่ใช่ผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะจะติดไฟได้ง่าย นั่นเอง ดังนั้น เราไปเจาะลึกกันเลยดีกว่า ว่าแต่ละชั้นมีคุณสมบัติแตกต่างยังไงกันบ้าง

ชั้นนอกสุด

       มาเริ่มกันที่ชั้นนอกสุดหรือเป็นชั้นที่มีความสำคัญมากที่สุดเพราะต้องสัมผัสกับความร้อนก่อนเป็นอันดับแรก จึงต้องมีความประณีตและดีงามตั้งแต่ขั้นตอนของการตัดเย็บ และจะต้องมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันการลุกลามการติดไฟได้ด้วยเช่นเดียวกัน อีกทั้งจะต้องผ่านการทดสอบการต้านทานความร้อนสูงก่อนการนำมาใช้งาน เพื่อทดสอบดูว่าสามารถทนความร้อนได้สูงและทนต่อการใช้งานที่สมบุกสมบันในพื้นที่อัคคีภัยได้ด้วยหรือไม่
 

ชั้นตัวกั้นน้ำ

       สำหรับในชั้นนี้ จะมีคุณสมบัติช่วยต้านทานความร้อนได้โดยเฉพาะ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกซึมเข้ามาสู่ภายใน เพราะน้ำเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ ดังนั้น ชุดดับเพลิงจึงต้องมีลักษณะแห้งอยู่เสมอ และต้องมีน้ำหนักเบาด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ชั้นนี้จึงต้องมีคุณสมบัติทนทาน และกันความร้อนได้ดี อีกทั้งยังต้องมีลักษณะระบายอากาศได้ดี ลดปริมาณน้ำและความร้อนจากภายในสู่ภายนอกได้อย่างดีเยี่ยมด้วยเช่นเดียวกัน

ชั้นตัวกั้นความร้อน

       มาต่อกันที่ชั้นที่ 3 ของชุดดับเพลิงนั่นก็คือ ชั้นตัวกั้นความร้อน ซึ่งภายในจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อน ส่งผลทำให้ไร้น้ำหนักและมีความต้านทานความร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งในชั้นนี้ หากมีช่องอากาศมากเท่าไหร่ยิ่งดีต่อนักดับเพลิงมากเท่านั้น เพราะจะทำให้มีอการนำเอาอากาศมาเป็นฉนวนกันความร้อน หรือป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วซึมของน้ำอย่างง่ายดายนั่นเอง อีกทั้งทำให้เกิดความสะดวกสบายต่อการทำงานของนักดับเพลิง เพราะจะทำให้เกิดความเบาบางไร้น้ำหนัก และเกิดความคล่องตัวในการทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

ชั้นในสุด

       ถัดออกมาจากนั้นก็จะเป็นชั้นในสุด ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ติดกับผู้สวมใส่มากที่สุด มีลักษณะเป็นผ้าปิดคลุม จึงมีความอ่อนนุ่มและลื่น เพื่อให้เกิดความสบายและเกิดความคล่องแคล่วในการทำงาน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการซับเหงื่อที่ไหลออกมาได้เป็นอย่างดี เพราะเนื่องจากชุดดับเพลิงนั้นมีลักษณะหนาเตอะและร้อนเป็นอย่างมาก จะทำให้นักดับเพลิงทำงานได้ไม่สะดวกและอาจจะเป็นอันตรายในขณะปฎิบัติหน้าที่อยู่ได้ด้วยนั่นเอง

*ชุดดับเพลิงที่ดีก็จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสากลอย่าง EN469 หรือ NFPA หรือดีกว่านี้ เพราะต้องได้รับการทดสอบความปลอดภัยแล้วว่านำไปใช้งานและจะปลอดภัยต่อนักดับเพลิง

อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นไม่แพ้ชุดดับเพลิง

       ซึ่งไม่เพียงแต่ชุดเท่านั้น ที่ต้องพิถีพิถันกันเป็นพิเศษ ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น หมวกดับเพลิง ถุงมือ ผ้าคลุมศีรษะ รองเท้าสำหรับดับเพลิง และยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ควบคู่หรือเพิ่มเติมจากชุดดับเพลิงปกติ เช่น เครื่องช่วยหายใจ(SCBA), ไฟฉาย, หรือหน้ากากป้องกันสารพิษ